สมบัติของอากาศ

(1)ความหนาแน่นของอากาศ
อากาศ เป็นสสาร มีมวลและปริมาตร เราเรียกอัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศว่า ความหนาแน่นของอากาศ
จากการศึกษาความหนาแน่นของอากาศ พบว่าอากาศโดยทั่วๆไปที่ผิวโลกบริเวณระดับน้ำทะเลมีความหนาแน่นประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นั่นคือ อากาศปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร ที่บริเวณระดับน้ำทะเล จะมีมวลประมาณ 1.2 กิโลกรัม
ถ้าความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของอากาศจะมีค่าลดลง นั่นคือ ที่บริเวณสูงๆขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลจะมีอากาศอยู่เจือจาง

(2)อุณหภูมิของอากาศ
แหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญของโลกคือดวงอาทิตย์ ในช่วงเช้ารังสีที่ส่องลงมากระทบพื้นโลกจะถูกดูดกลืนไว้โดยพื้นผิวโลก จากนั้นจะคายออกมาในรูปของรังสีความร้อน ส่วนหนึ่งจะแผ่กระจายออกนอกชั้นบรรยากาศ แต่ส่วนใหญ่จะถูกแก๊ส เมฆ (ไอน้ำ)

(3)ความดันของอากาศ
อากาศมีแรงดัน แรงดันของอากาศจะกระทำต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลก แม้แต่ตัวของเราก็ได้รับแรงดันจากอากาศอยู่ตลอดเวลา แรงดันของอากาศสังเกตจากการเป่าลูกโป่งหรือสูบลมเข้าไปในยางรถ อากาศภายในจะดันให้ลูกโป่งและยางรถพองโตออก

(4)ความชื้นของอากาศ
ความชื้นของอากาศ หมายถึง ปริมาณไอน้ำในอากาศ ซึ่งเกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำ คลอง หนอง บึง ทะเล มหาสมุทร รวมทั้งการคายน้ำของพืช
ในอากาศทั่วๆ ไปที่อยู่รอบๆ ตัวเรามีไอน้ำปนอยู่ ถ้าอากาศอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถรับ
ไอน้ำได้อีกแล้ว แสดงว่าอากาศในขณะนั้นอิ่มตัวด้วยไอน้ำหรืออยู่ในสภาวะที่อากาศมีความชื้นมากที่สุด

This entry was posted in สมบัติของอากาศ and tagged . Bookmark the permalink.

Leave a comment